9 พฤษภาคม 2560

7 สายพันธุ์สับปะรดของประเทศไทย

สายพันธุ์สับปะรดในประเทศไทย

 "พันธุ์สับปะรดของประเทศไทย"  สายพันธุ์สับปะรดที่มีอยู่ 7 สายพันธุ์

  1. พันธุ์ปัตตาเวีย หรือเรียกว่า สับปะรดศรีราชา
  2. พันธุ์อินทรชิต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมือง
  3. พันธุ์ขาว
  4. พันธุ์ภูเก็ต หรือ พันธุ์สวี
  5. พันธุ์นางแล หรือ พันธุ์น้ำผึ้ง
  6. พันธุ์ตราดสีทอง
  7. พันธุ์ภูแล
สับปะรด (Ananas comosus) เป็นไม้ผลเขตร้อน ที่จัดอยู่ในวงศ์ Bromeliaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน ของทวีปอเมริกาใต้ นักเดินเรือ ชาวสเปนและโปรตุเกส เป็น ผู้นำสับปะรดไปเผยแพร่ยังยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชียในราว ศตวรรษที่ 16 และแพร่เข้ามายัง ประเทศไทยราวปีพ.ศ.2213- 2243
ถึงแม้ว่าสับปะรดมิได้ เป็นพืชพื้นเมืองของไทย แต่ก็ สามารถเจริญเติบโตและแพร่ กระจายได้ดีในประเทศไทย เนื่องจากสับปะรดที่ปลูกรับประทานผลกันอยู่ เป็นพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ด จึงต้องมีการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของลำต้น (vegetative parts) เช่น หน่อ จุกและตะเกียง แต่เนื่องจากมีการปลูก และขยายพันธุ์กันมานานจนมีลักษณะกลายพันธุ์เดิมไปตามลำดับ บางพันธุ์มีลักษณะคล้ายพันธุ์ป่า คือมีต้นสูงใหญ่ มีหนามมาก และมีผลเล็ก สำหรับสับปะรดพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน จะได้รับการ คัดเลือกจากต้นที่มีลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ต้นเตี้ย หนามน้อย ผลเป็น รูปทรงกระบอก และมีอายุถึงวันเก็บเกี่ยวสั้น
พันธุ์สับปะรดที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น