เรียนรู้กับ 10 อาชีพของชาวบ้านดอนขุนห้วยรายได้เหยียบแสน (Part 5)
โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย
ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันหันมาประกอบอาชีพเพาะปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีเพื่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม พืชผักเป็นพืชอาหารที่นิยมนำรับมาประทาน ชาวบ้านดอนขุนห้วยจึงหันมาปลูกผักปลอดสารพิษ การเปลี่ยนแปลงการทำเกษตรที่เน้นความพอเพียงและสร้างความสมดุลต่อสภาพแวดล้อม โดยการปลูกผักปลอดสารพิษนั้นจะมี พริกลาว, มะเขือ, ถั่วฝักยาว , ผักกวางตุ้ง, ฯลฯ ก่อนชาวบ้านจะนำพืชผักต่าง ๆ ไปขายนั้น จะแบ่งนำมารับประทานกัน ซึ่งจะใช้กากปาล์ม 6 เดือนมาหมัก เป็นปุ๋ยนำมาใช้ปลูกผัก ซึ่งจะไม่มีสารพิษใด ๆ ต้นทุนดินจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 ตัน ที่ใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษมี 2 ที่ แต่ละพื้นที่ก็จะแบ่งเป็นล็อก เพื่อให้ชาวบ้าน นำพืชผักมาปลูก ส่วนใหญ่ที่ชาวนำมาปลูก คือ แตงกวา มะเขือ ถั่วฝักยาว ฯลฯ ส่วนมากผักที่ชาวจะนำมาปลูกนั้น จะไม่ค่อยมีความแตกต่างเท่าไร ทำให้ไม่มีพืชผักที่เด่นจากเดิมเท่าไร
ผักปลอดภัย โดยใช้สารอินทรีย์ชีวภาพ
การปลูกผักรับประทานเองแบบบผักอินทรีย์ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง แต่สำหรับประชาชนที่ไม่เคยปลูกผักเลยก็เป็นปัญหาใหญ่ ในการที่จะเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การปลูกผักด้วยตนเอง ชุมชนบ้านดอนขุนห้วยมองเห็นถึงปัญหา จึงได้รวมจัดตั้งโครงการนี้ให้ชุมชนมีส่วนร่วม และ สร้างแรงจูงใจให้ชุมชนปลูกผักอินทรีย์ไว้รับประทานเอง
นอกจากนี้ ผลพลอยได้จากการดำเนินโครงการดังกล่าวยังช่วยให้เกิดผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพออกมาจำหน่าย อาทิ ผักอินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ ผักพื้นบ้านต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาทักษะวิชาชีพในการปลูกพืชผักแล้ว ยังสามารถส่งเสริมการปลูกผักเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและนำไปจำหน่ายได้ในอนาคตด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น